Who cast that first fateful tomato that started the La Tomatina revolution? The reality is no one knows. Maybe it was an anti-Franco rebellion, or a carnival that got out of hand. According to the most popular version of the story, during the 1945 festival of Los Gigantes (a giant paper mâché puppet parade), locals were looking to stage a brawl to get some attention. They happened upon a vegetable cart nearby and started hurling ripe tomatoes. Innocent onlookers got involved until the scene escalated into a massive melee of flying fruit. The instigators had to repay the tomato vendors, but that didn't stop the recurrence of more tomato fights—and the birth of a new tradition.
Fearful of an unruly escalation, authorities enacted, relaxed, and then reinstated a series of bans in the 1950s. In 1951, locals who defied the law were imprisoned until public outcry called for their release. The most famous effrontery to the tomato bans happened in 1957 when proponents held a mock tomato funeral complete with a coffin and procession. After 1957, the local government decided to roll with the punches, set a few rules in place, and embraced the wacky tradition.
Though the tomatoes take center stage, a week of festivities lead up to the final showdown. It's a celebration of Buñol's patron saints, the Virgin Mary and St. Louis Bertrand, with street parades, music, and fireworks in joyous Spanish fashion. To build up your strength for the impending brawl, an epic paella is served on the eve of the battle, showcasing an iconic Valencian dish of rice, seafood, saffron, and olive oil.
Today, this unfettered festival has some measure of order. Organizers have gone so far as to cultivate a special variety of unpalatable tomatoes just for the annual event. Festivities kick off around 10 a.m. when participants race to grab a ham fixed atop a greasy pole. Onlookers hose the scramblers with water while singing and dancing in the streets. When the church bell strikes noon, trucks packed with tomatoes roll into town, while chants of "To-ma-te, to-ma-te!" reach a crescendo.
Then, with the firing of a water cannon, the main event begins. That's the green light for crushing and launching tomatoes in all-out attacks against fellow participants. Long distance tomato lobbers, point-blank assassins, and medium range hook shots. Whatever your technique, by the time it's over, you will look (and feel) quite different. Nearly an hour later, tomato-soaked bombers are left to play in a sea of squishy street salsa with little left resembling a tomato to be found. A second cannon shot signals the end of the battle. | ใครกันที่ริเริ่มประเพณี “ลา โตมาตินา” หรือเทศกาลปามะเขือเทศนี้ขึ้น? ความจริงก็คือไม่มีผู้ใดรู้ บางทีมันอาจเริ่มมาจากกลุ่มกบฏต่อต้านจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก หรือเป็นผลพวงของการเล่นจนเลยเถิดในงานคาร์นิวัลสักงานหนึ่ง ประวัติความเป็นมาที่แพร่หลายมากที่สุดว่าไว้ว่า ในงานเทศกาลขบวนพาเหรดหุ่นตุ๊กตายักษ์ของเมืองโลส กีกันเตสเมื่อปี 1945 ชาวเมืองวางแผนก่อวิวาทเพื่อดึงดูดความสนใจ บังเอิญว่ามีรถเข็นผลไม้อยู่ใกล้ๆ เลยคว้ามะเขือเทศสุกปาใส่กัน คนดูที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ร่วมวงปามะเขือเทศด้วยจนกลายเป็นศึกปามะเขือเทศลอยไปมาแสนชุลมุน คนก่อเหตุต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับคนขายมะเขือเทศ ถึงกระนั้นก็ยังสู้กันต่ออีกหลายยก และกลายเป็นจุดก่อกำเนิดประเพณีแบบใหม่ขึ้นนั่นเอง กระนั้น ทางการกลัวว่าเหตุการณ์จะลุกลามจนควบคุมไม่ได้ จึงออกมาตรการควบคุมซึ่งเปลี่ยนไปมาหลายครั้งในช่วงทศวรรษที่ 50 ทั้งสั่งห้าม ผ่อนปรน แล้วสั่งห้ามอีกครั้ง ในปี 1951 ชาวเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายถูกจับจำคุก ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงเรียกร้องให้ปล่อยตัว การตอบโต้การห้ามปามะเขือที่มุทะลุและเป็นที่โจษจันที่สุดเกิดขึ้นในปี 1957 เหล่าผู้สนับสนุนพากันจัดงานศพมะเขือเทศ พร้อมด้วยโลงศพและขบวนแห่ หลังจากนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจึงตัดสินใจแก้ปัญหา โดยออกกฎควบคุมและยอมรับประเพณีพิลึกพิลั่นนี้แต่โดยดี ถึงแม้ว่ามะเขือเทศจะเป็นตัวชูโรงของงาน แต่ก็มีงานเทศกาลครื้นเครงอื่นๆ มากมาย ซึ่งจัดขึ้นตลอดอาทิตย์ ก่อนจะปิดท้ายด้วยศึกมะเขือเทศ ทั้งนี้เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่พระนางมารีย์พรหมจารีและเซนต์ หลุยส์ เบอร์ทราน นักบุญผู้ปกป้องคุ้มครองเมืองบูโนล ในบรรยากาศแบบสเปนอันแสนเพลิดเพลิน มีทั้งขบวนเดินพาเหรด ดนตรี และดอกไม้ไฟ และมีข้าวผัดพาเอลลา อาหารขึ้นชื่อของวาเลนเซีย ทำจากข้าวกับอาหารทะเล ชูรสด้วยหญ้าฝรั่นและน้ำมันมะกอก ให้บริการในวันก่อนปามะเขือเทศเพื่อชูพละกำลัง ในปัจจุบัน เทศกาลเสรีนี้มีข้อกำหนดบางประการ ผู้จัดงานถึงขั้นที่เพาะมะเขือเทศพันธ์พิเศษแบบไร้รสชาติขึ้นเพื่องานประจำปีนี้โดยเฉพาะ งานเทศกาลจะเริ่มประมาณ 10 โมงเช้า เมื่อนั้น ผู้เข้าร่วมงานจะเหโรวิ่งรุดไปยังเสาอาบน้ำม้น ไต่เสาอาบน้ำมันยื้อแย่งเอาแฮมที่ผูกติดอยู่สุดเสา ส่วนคนดูก็จะฉีดน้ำใส่พลางร้องรำทำเพลงอยู่ตามถนน เมื่อระฆังโบสถ์ตีบอกเวลาเที่ยง รถบรรทุกที่ขนมะเขือเทศเต็มคันรถก็จะวิ่งเข้ามาในเมือง พร้อมเสียง “มะ-เขือ-เทศ มะ-เขือ-เทศ!” ที่กระหึ่มดังขึ้นเรื่อยๆ จากนั้น ก็จะมีการฉีดน้ำส่งสัญญาณให้เริ่มโจมตีบดขยี้ผู้เข้าร่วมด้วยมะเขือเทศ งัดใช้ทุกกลยุทธ์ ทั้งปาระยะไกล โจมตีแบบเผาขน และยิงใส่แบบเกือบประชิด ไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์ใด พอหมดเวลา คุณจะดู (และรู้สึก) เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ต่อจากนั้นอีกประมาณชั่วโมง เหล่านักรบในสภาพที่โชกไปด้วยมะเขือเทศก็จะแหวกว่ายเล่นอยู่ในทะเลน้ำมะเขือเทศ ซึ่งพอมีซากลูกมะเขือเทศหลงเหลือให้เห็นบ้าง และเมื่อมีการฉีดน้ำส่งสัญญาณเป็นครั้งที่สอง ก็เป็นอันสิ้นสุดสงคราม |